ผมนี่แหละเจ้าแห่งฟาร์มปลา – ตอนที่ 1472 แส้ของพระเจ้า

ฉินสือโอวถือไอแพดไว้แล้วเริ่มหาข่าว บัตเลอร์รับเรื่องไว้เอง “ไม่ต้องดูรายงานข่าวหรอก เดี๋ยวฉันเล่าเอง ตอนนั้นฉันอยู่ที่โตเกียวพอดี รู้มากกว่าพวกสื่อบ้าๆ พวกนี้เสียอีก”
“นายพูดเลย ฉันรอฟังอยู่” ฉินสือโอวพูดอย่างใจเย็นไปดูข่าวไป
ตามที่บัตเลอร์ได้กล่าวมา ท่าเรือโตเกียวก็พังทลาย หลังจากผลิตเบียร์เพียงปีเดียว ก็กลายเป็นเพรียงเรือที่ร้ายกาจ
กลุ่มท่าเรืออ่าวโตเกียวถูกสร้างอย่างรวดเร็ว เนื่องด้วยการแบ่งหน้าที่อย่างสมเหตุสมผลของกลุ่มท่าเรือญี่ปุ่น ทำให้ท่าเรือใหญ่ระดับโลก 6 แห่งมารวมตัวกันในท่าเรือขนาดเล็ก ได้แก่ ท่าเรือโตเกียว ท่าเรือชิบะ ท่าเรือคาวาซากิ ท่าเรือโยโกฮามะ ท่าเรือคิซาราซุและท่าเรือโยโกสุกะ
ท่าเรือเหล่านี้เชื่อมต่อกันยาวตั้งแต่ต้นจนจบซึ่งมีความยาวหลายร้อยไมล์ มีหน้าที่ขนส่งสินค้าไปทั่วภาคกลางของญี่ปุ่น
บริเวณอ่าวโตเกียวเป็นพื้นที่หลักทางเศรษฐกิจและการเมืองของญี่ปุ่นมานานหลายร้อยปี ตั้งแต่สมัยยุครณรัฐ ท่าเรือก็มีการพัฒนามาโดยตลอด ดังนั้นท่าเรือที่นี่จึงถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ยุคสมัยช่วงแรกๆ วัสดุส่วนมากจึงทำจากไม้และหิน ท่าเรือที่ทำจากเหล็กถือว่ามีน้อยมาก
ซึ่งเรื่องนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ ที่แคนาดาก็เป็นแบบนี้เช่นกัน เนื่องด้วยท่าเรือที่ทำจากเหล็กไม่ทนทาน เมื่อได้รับผลกระทบจากการกัดกร่อนจากน้ำทะเลและแบคทีเรียที่เจริญเติบโตได้ในสภาวะที่ไม่มีอากาศ ท่าเรือเหล็กก็สามารถกลายเป็นซากปรักหักพังได้ภายใน 10 ปี ซึ่งไม่สามารถใช้งานได้จริงเท่ากับหินและไม้
แต่คราวนี้กลุ่มท่าเรืออ่าวโตเกียวต้องประสบกับการขาดทุนจากวัสดุที่ใช้ได้จริงเหล่านี้ เรื่องเกิดขึ้นเมื่อครึ่งเดือนที่แล้ว เริ่มจากท่าเรือที่ทำจากไม้ในปริมาณมากที่อ่าวโตเกียวแห่งหนึ่งพังทลาย ซึ่งก่อตัวเป็นคลื่นส่งผลให้ท่าเรืออีกแห่งพังทลายตาม ท่าเรือสองแห่งพังทลายภายในเวลาแค่วันเดียวอย่างต่อเนื่อง
ผลการตรวจสอบออกมาไวมาก ซึ่งก็คือโครงสร้างหลักของสองท่าเรือนี้ทำจากไม้แล้วถูกเพรียงเรือทำลายจนไม่เหลืออะไร มองจากด้านนอกดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ข้างในกลับเป็นรังของเพรียงเรือที่อาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่น
ด้วยเหตุนี้ท่าเรือโตเกียวจึงเป็นท่าเรือแห่งแรกที่ถูกปิดเพื่อทำการตรวจสอบ ซึ่งก็ไม่ได้สลักสำคัญอะไร เพราะยังมีท่าเรืออีก 5 แห่งในอ่าวโตเกียวที่มีพื้นที่แคบที่ยังใช้ได้ ความกดดันในการขนส่งจึงกระจายไปตามท่าเรือทั้ง 5 แห่งนี้
แต่เรื่องที่น่าเศร้าใจก็คือ พนักงานที่รับผิดชอบตรวจสอบท่าเรือได้ทำการสุ่มตรวจท่าเรือทั้ง 5 แห่งนี้แล้วพบว่า ท่าเรือของสถานที่เหล่านี้ก็มีเพรียงเรืออาศัยอยู่เช่นกัน!
ในเวลานี้ รัฐบาลญี่ปุ่นต่างตื่นตระหนกตั้งแต่ศูนย์กลางไปจนถึงชายฝั่งของอ่าวโตเกียว เพราะกลุ่มท่าเรืออ่าวโตเกียวมีความสำคัญสำหรับประเทศนี้มากเกินไป!
จากมุมมองทางภูมิศาสตร์กลุ่มท่าเรืออ่าวโตเกียวตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น ล้อมรอบด้วยคาบสมุทรโบโซและมิอุระ และเชื่อมต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยช่องทางน้ำอูรางะ
กล่าวคือตราบใดที่อ่าวเปิดออก สินค้าที่ขนส่งจากมหาสมุทรแปซิฟิกก็จะสามารถเข้าสู่โตเกียว คาวาซากิและที่อื่นๆ ได้โดยตรง แต่พอปิดอ่าวแล้วจะต้องอ้อมเส้นทางเป็นระยะทางไกลโดยผ่านเส้นทางบนบกจากฟุจิซาวะและโอฮาระถึงจะเข้าได้
ตามข้อมูลที่ฉินสือโอวหา หนึ่งปีที่ผ่านมา ความสามารถในการรับสินค้าของกลุ่มท่าเรือทั้งหมดคือ 550 พันล้านตันซึ่งจำนวนนี้ไม่เป็นสองรองใครในโลก เป็นเส้นชีวิตของญี่ปุ่นตอนกลางทั้งหมด
หากมองในมุมมองด้านเศรษฐกิจ มีเขตอุตสาหกรรมหลักสองแห่งคือเคฮินและเคโยะ ที่ริมอ่าวโตเกียว เขตอุตสาหกรรมเคฮินบนชายฝั่งตะวันตกของอ่าวโตเกียว ได้แก่ โตเกียว โยโกฮาม่า และคาวาซากิ มีโรงงานและสถานประกอบการขนาดใหญ่กว่า 200 แห่งบนพื้นที่ชายฝั่งทะเลกว้าง 5 เมตรและยาว 60 กิโลเมตร เช่น บริษัทข้ามชาติอย่าง บริษัทนิสสัน มอเตอร์ บริษัทสร้างเรืออิชิกาว่า บริษัทนิปปอน สตีล ไพพ์ บริษัทนิปปอน ออยล์ และอุตสาหกรรมหนักมิตซูบิชิ เป็นต้น
ส่วนเขตอุตสาหกรรมเคโยะ ทางฝั่งตะวันออกของอ่าวโตเกียวมีโรงงานเหล็กขนาดใหญ่ 2 แห่ง โรงกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่ 2 แห่ง โรงงานปิโตรเคมี 4 แห่ง และบริษัทต่อเรือมิตซุย เป็นต้น ซึ่งทำให้อ่าวโตเกียวเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมด้านเคมีที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น
กลุ่มท่าเรือบริเวณอ่าวโตเกียวพอปิดตัวลง ค่าเสียหายรายวันอาจคำนวณได้หลายหมื่นล้านดอลลาร์!
หากไม่ใช่โศกนาฏกรรมของเรือบูลด็อกที่รัฐเมนที่สามารถดึงดูดความสนใจของประชาชนแคนาดาและอเมริกาได้มากกว่า ถ้าเช่นนั้นเรื่องราวกลุ่มท่าเรืออ่าวโตเกียวก็คงยังเป็นหัวข้อข่าวอยู่
ขณะนี้ญี่ปุ่นกำลังเร่งซ่อมแซมท่าเรืออ่าวโตเกียวทั่วประเทศ นายกรัฐมนตรีและสมาชิกคณะรัฐมนตรีกว่าครึ่งได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ที่ท่าเรือเลย ส่งทีมก่อสร้างที่ดีที่สุดของประเทศเพื่อทำการซ่อมแซม และหาผู้เชี่ยวชาญด้านปรสิตทะเลที่ดีที่สุดมาจัดการกับเพรียงเรือ
ในเวลานี้ฉินสือโอวตระหนักถึงความแข็งแกร่งของหัวใจโพไซดอนของเขา หลังจากเพรียงเรือเหล่านี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีชีวิตชีวาและมีความสามารถในการขยายพันธุ์ที่สามารถทำให้ผู้เชี่ยวชาญตื่นตระหนกได้ ญี่ปุ่นไม่สามารถรับมือกับพวกมันได้ จึงเชิญผู้เชี่ยวชาญยอดเยี่ยมที่เกี่ยวข้องจากทั่วทุกมุมโลกมาจัดการกับพวกมัน
ในตอนแรกรัฐบาลญี่ปุ่นใช้วิธีทั่วไปในการจัดการกับเพรียงเรือโดยใช้แรงดันสูงอัดฉีดสารเคมีเข้าไปในเนื้อไม้เพื่อที่จะฆ่าเพรียงเรือ แต่กลับไร้ผล เพราะเพรียงเรือเหล่านี้ทนทานต่อพิษได้ดีมาก ต้องใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูงมากถึงจะสามารถฆ่าพวกมันได้
เมื่อหมดหนทาง คนญี่ปุ่นก็ใช้ยาที่ได้ผลมีประสิทธิภาพดีที่สุดต่อการกำจัดเพรียงเรือที่เป็นที่ยอมรับในทั่วโลกซึ่งก็คือ CCA เป็นวิธีการที่เลวร้าย ถ้าหากสมมติฆ่าหนึ่งพันตัวจะตายไปแปดร้อยตัว เพราะส่วนประกอบที่สำคัญของ CCA คือ โครเมียม ทองแดงและสารหนู ซึ่งสามารถป้องกันไม้ ฆ่าเพรียงเรือได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลเช่นกัน
รัฐบาลญี่ปุ่นจะมากังวลกับการรักษาสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศของอ่าวโตเกียวไม่ได้แล้ว เพราะตอนนี้สิ่งที่ต้องทำคือกำจัดเพรียงเรือและทำให้กลุ่มท่าเรือกลับมาใช้งานได้ปกติก็เพียงพอแล้ว แต่สิ่งที่น่าเศร้าก็คือ นี่ก็ไม่ได้ผล การใช้ CCA ในช่วงแรกได้ผลดี สามารถฆ่าเพรียงเรือไปได้กลุ่มใหญ่ แต่ไม่นานมันก็พัฒนาและสามารถต้านทานได้…
หลังจากเกิดเรื่องนี้ ไม่เพียงรัฐบาลญี่ปุ่นที่ตื่นตระหนก ประเทศอื่นๆ ก็เริ่มกลัวเช่นกัน จึงทยอยตัดขาดการค้าการขนส่งทางทะเลกับกลุ่มท่าเรืออ่าวโตเกียว
รัฐบาลญี่ปุ่นก็ถือได้ว่าเที่ยงธรรม เพราะหลังจากที่พวกเขาค้นพบว่ามีเพรียงเรือที่น่ากลัวเหล่านี้ก็สั่งปิดไม่ให้เรือภายในท่าเรือวิ่งออกไป เรือที่ทำจากไม้ก็โดนเผาทิ้งจนหมด เพื่อรับประกันว่าเพรียงเรือที่แข็งแกร่งนี้จะไม่แพร่กระจายออกไปจากอ่าวโตเกียว
โชคดีว่ามีเรือไม้น้อยมากในปีนี้ กลุ่มท่าเรืออ่าวโตเกียวเป็นเขตท่าเรืออุตสาหกรรม เรือเหล็กขนาดยักษ์ที่แล่นไปมาหนักถึงพันตันหรือมากไปถึงหมื่นตัน จึงสามารถจำกัดการกระจายตัวของเพรียงเรือชนิดใหม่ไม่ให้แพร่ออกไปได้
สื่อยุโรปยังตั้งชื่อให้กับเพรียงเรือเหล่านี้ด้วย เนื่องด้วยมันมีลักษณะยาวและแข็งเหมือนแส้ ดังนั้นจึงได้รับฉายาว่า ‘แส้ของพระเจ้า’ ซึ่งก็หมายถึงว่าไอ้ของเล่นชิ้นนี้เป็นสิ่งที่พระเจ้าใช้เพื่อทำโทษมนุษย์
ชื่อที่ว่าแส้ของพระเจ้าปรากฏขึ้นเพียงสองครั้งในประวัติศาสตร์ยุโรป ครั้งแรกมอบให้จักรพรรดิอัตติลาผู้ทรงเสน่ห์ ครั้งที่สองมอบให้กับม้าศึกมองโกเลียที่ถูกปกครองโดยกุบไลข่าน และนี่เป็นครั้งที่สามมอบให้กับกลุ่มสัตว์ทะเลขนาดเล็ก
หลังจากที่อ่านบทนำ ฉินสือโอวก็รู้สึกประหลาดใจ “เพรียงเรือเหล่านี้ ช่างน่ากลัวจริงๆ”
คุณลุงหนวดดำพยักหน้าราวกับเข้าใจ “คนญี่ปุ่นโชคร้ายจริงๆ ความเสียหายครั้งนี้หนักมาก ตอนนี้กลุ่มท่าเรือก็ยังปิดตัวอยู่ ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะเปิดได้”
ฉินสือโอวยักไหล่ “ทำได้แค่ขอให้พระเจ้าช่วยปกป้องคุ้มครองพวกเขา หวังว่าเขาจะจัดการกับแส้นั้นได้โดยไว ไปเถอะ พวกเราไปเตรียมกินข้าวกัน”
อาหารเย็นก็คือ ไส้กรอกนึ่ง บัตเลอร์กินไม่ได้ เพราะคิดว่าการปรุงรสในไส้กรอกมันเข้มข้นเกินไปไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพ
ฉินสือโอวกินอย่างเอร็ดอร่อย ไส้กรอกที่ยัดด้วยเนื้อหมูบ้านทั้งหอมกว่าและเหนียวกว่า จะไปส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพได้อย่างไร? เขาคิดว่ารสชาติถ้าเทียบกับกัญชาแล้วยังปลอดภัยมากกว่ามาก บัตเลอร์นี่ตอนที่สูบกัญชาก็กลัวว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นกัน
………………………………

ผมนี่แหละเจ้าแห่งฟาร์มปลา

ผมนี่แหละเจ้าแห่งฟาร์มปลา

ชีวิตบัดซบของ ‘ฉินสือโอว’ เริ่มต้นด้วยการถูกใส่ร้ายว่ายักยอกเงินและถูกให้ออกจากบริษัท หนำซ้ำยังต้องชดใช้จนไม่มีแม้แต่เงินจ่ายค่าเช่าห้อง แต่ไม่รู้ว่าโชคดีหรืออะไร เขาพบว่าคุณปู่รองได้ทิ้งพินัยกรรมมูลค่าหลายร้อยล้านไว้ให้ นั่นคือฟาร์มปลาที่แคนาดา แต่ที่นั่นกลับโกโรโกโสทรุดโทรม ปลาสักตัวก็แทบไม่มี นอกจากนั้นยังต้องเสียภาษีการยืนยันพินัยกรรมจำนวนมากอีก จากที่ตอนแรกเขากะจะขายฟาร์มแล้วหอบเงินกลับประเทศจีน กลับต้องฟื้นฟูกิจการฟาร์มปลาเพื่อหาเงินไปจ่ายค่าภาษี ไม่งั้นจะต้องยอมเสียฟาร์มให้ทางการไป ทว่าระหว่างที่สำรวจทะเลสาบในเกาะ เขาถูกปลาทำร้ายจนเลือดที่คางหยดลงไปบนจี้รูปหัวใจสีน้ำเงินที่มีชื่อว่า ‘หัวใจโพไซดอน’ ทำให้ตัวจี้หลอมเข้าไปในตัวเขา จากนั้นมา… จิตสำนึกของเขาก็สามารถสำรวจและควบคุมท้องน้ำรวมถึงทำการเยียวยาและรักษาสิ่งมีชีวิตในทะเลได้ และนี่ คือหนทางกอบกู้ฟาร์มมรดกของเขา!

Options

not work with dark mode
Reset