ผมนี่แหละเจ้าแห่งฟาร์มปลา – ตอนที่ 1639 เทคโนโลยีไม่มีทางตัน

วินเซนต์แนะนำให้ฉินสือโอวฟังอย่างหมดทางว่า ตอนนี้เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ วิธีการปลอมแปลงก็มากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่นักอัญมณีจะสามารถประเมินไข่มุกดำแต่ละเม็ดได้
ในปัจจุบันวิธีการเลี้ยงไข่มุกมีอยู่สี่วิธีนั่นคือ กระบวนผ่านเกลือเงิน การฉายรังสี นิวเคลียสย้อมสี และการทำพื้นผิวเคลือบฟิล์ม
วิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือวิธีแรก วินเซนต์เรียกพนักงานที่สวมเสื้อคลุมสีขาวคนหนึ่งให้มาสาธิตให้ฉินสือโอวดู วิธีนี้คือการนำไข่มุกไปแช่ในน้ำยาหลายๆ ชั้น เมื่อแช่น้ำยาไปได้สักพัก พนักงานคนนั้นก็หยิบไข่มุกขึ้นมา พลางพูดว่า “นี่คือสารละลายของซิลเวอร์ไนเตรตและอาร์โมเนียเจือจาง มันทำให้พื้นผิวเคลือบด้านนอกของไข่มุกเป็นสีเงิน”
หลังจากนั้นเขาก็นำไข่มุกสีเงินใส่ลงไปในภาชนะปิดสนิท จากนั้นก็ทำการฉายรังสีเข้าไปที่ไข่มุก ทุกอย่างเป็นอย่างช้าๆ สีเงินของไข่มุกค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีดำด้วยวิธีนี้
“ข้างในไข่มุกนี้มีไฮโดรเจนซัลไฟด์ มันสามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายที่เคลือบอยู่ด้านนอกภายใต้รังสีนี้ ทำให้สีเงินของมันเปลี่ยนเป็นสีดำ แน่นอนว่านี่เป็นเพียงการแสดง ในความเป็นจริงขั้นตอนมันซับซ้อนมากกว่านี้ มันจำเป็นที่จะต้องใช้เวลานานกว่านี้ เพื่อที่จะให้ไข่มุกดำนั้นมีความสมจริงมากที่สุด”
ฉินสือโอวยกนิ้วโป้งให้พลางพูดว่า “ความฉลาดของมนุษย์นี้ไม่มีสิ้นสุดจริงๆ พวกเขาสามารถทำของปลอมได้จากเทคโนโลยีพวกนี้ ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดนี้เป็นยุคแห่งวิทยาศาสตร์จริงๆ ผมต้องไปมหาวิทยาลัยเพื่อศึกษาต่อเสียแล้ว”
“เรียนการทำของปลอมเหรอ?” วินเซนต์แซว
ฉินสือโอวหัวเราะเหอะๆ ออกมา อันที่จริงแล้วเขารู้สึกผิดนิดหน่อย เพราะไข่มุกพวกนี้ของเขาก็เป็นของที่ทำขึ้นมาเช่นกัน การปลอมแปลงไข่มุกที่พบได้บ่อยอีกวิธีหนึ่งก็คือการย้อมสีนิวเคลียส นิวเคลียสจะถูกย้อมเป็นสีดำและฝังลงไปในไข่มุก ในกระบวนการสร้างไข่มุกการเพิ่มสารเมลานินจะถูกเพิ่มเข้าไปในไข่มุกอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดไข่มุกก็เปลี่ยนเป็นสีดำสนิท
เมื่อก่อนเป็นเพราะว่าไข่มุกนั้นเติบโตช้า เขาขึงนำไข่มุกเม็ดเล็กๆ ใส่เข้าไปในหอยนางรมลอย ทำให้ไข่มุกสีดำที่เกิดขึ้นมานั้นห่อหุ้มไข่มุกเล็กๆ ที่เขาใส่เข้าไป
วินซนต์เรียกให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาแสดงวิธีการทำไข่มุกอีกสองวิธีให้ฉินสือโอวดู หนึ่งคือการฉายรังสีให้กับไข่มุกโดยการใช้รังสีแกมมาจากแหล่งโคบอลต์เพื่อให้มันเปลี่ยนเป็นสีดำ นี่คือวิธีการฉายรังสี และวิธีสุดท้ายคือการเคลือบฟิล์ม นั่นคือการทากาวสีดำบางๆ ลงบนพื้นผิวของไข่มุก…
ในตอนที่ฉินสือโอวดูการสาธิตพวกนี้ ไข่มุกจำนวนหนึ่งร้อยยี่สิบเม็ดก็ถูกแบ่งให้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนประเมิน พวกเขาเริ่มทำการแยกไข่มุกแล้ว
พวกเขายังคงเริ่มการแยกไข่มุกจากการดูทางกายภาพ เริ่มต้นที่การดูสี โดยคราวนี้พวกเขาใช้เครื่องมือที่คล้ายกับกล้องจุลทรรศน์ในการดูสี มันมีตัวยึดไข่มุก สำหรับการดูไข่มุกดำแปดเม็ดได้ในครั้งเดียว หลังจากที่วางไข่มุกไว้ที่ด้านบน ยึดไข่มุกเข้ามาจับไข่มุกไว้ จากนั้นก็เกิดแสงกระจายไปทั่วไข่มุกแต่ละเม็ด
วินเซนต์อธิบายให้ฟังว่า “บนโลกไม่มีใบไม้สองใบที่เหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างไร ก็ไม่มีไข่มุกสองเม็ดที่เหมือนกันร้อนเปอร์เซ็นต์เช่นนั้น ไข่มุกที่เกิดจากธรรมชาติจะมีเฉดสีที่แตกต่างกันตั้งแต่สีเทาอ่อนไปจนถึงสีดำ แต่ความสวยของพวกมันก็อยู่ที่เฉดสีพวกนี้ ใต้แสงไฟ ให้หมุนไข่มุกช้าๆ จะสามารถเห็นแสงแวบวาบเล็กๆ เปลี่ยนไปเรื่อยๆ เหมือนกับสีรุ้ง”
ฉินสือโอวมองไปยังไข่มุกสีดำเหล่านั้นอย่างละเอียด จากนั้นเขาก็ส่ายหัวไปมาด้วยความลังเล พลางพูดขึ้นว่า “ดูเหมือนว่าต้องใช้สายตาของผู้เชี่ยวชาญซะแล้วล่ะ ผมมองไม่เห็นเลย”
วินเซนต์หัวเราะออกมา “แน่นอนสิ คุณมองไม่เห็นหรอก เพราะว่าต้องใช้แว่นขยายถึงสิบเท่าในการมอง”
กล้องจุลทรรศน์นี้ไม่ได้มีเพียงไว้เพื่อดูสีของไข่มุกเท่านั้น แต่ยังมีไว้สำหรับวัดความกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง และความเงาของไข่มุกอีกด้วย
วินเซนต์บอกว่ายากมากที่ไข่มุกตามธรรมชาติจะมีลักษณะที่เป็นทรงกลมที่กลมจริงๆ ส่วนมากพวกมันจะมีทรงพิเศษเช่น ทรงลูแพร์ ทรงหยดน้ำ ทรงระฆังและอื่นๆ ไข่มุกดำที่ฉินสือโอวนำมนั้นแทบจะเป็นทรงกลมที่สมบูรณ์แบบ ดังนั้นนี่จึงเหตุผลว่าทำไมของสิ่งนี้ถึงมีมูลค่ามาก ไข่มุกหนึ่งเม็ดมีมูลค่าหลายหมื่นหลายแสนดอลลาร์เลยทีเดียว
เมื่อพูดถึงตรงนี้วินเซนต์ก็พูดเล่นขึ้นมาว่า ครั้งแรกที่เขาเห็นไข่มุกดำราชินีแห่งรัตติกาลมีลักษณะที่พิเศษขนาดนี้ เขาคิดไปแล้วว่าทั้งหมดนี้เป็นไข่มุกเลี้ยง ดังนั้นเขาจึงไม่ได้มาเจอกับฉินสือโอวในครั้งแรก ไม่อย่างนั้นลูกค้าที่มีศักยภาพแบบนี้ ไม่ว่าอย่างไรเขาก็ต้องดูแลเป็นอย่างดี
ฉินสือโอวยิ้มออกมาพลางพูดว่า “ไม่แน่ว่ามันอาจจะเป็นไข่มุกเลี้ยงจริงๆ ก็ได้ เพราะว่าพวกมันถูกเลี้ยงในฟาร์มปลาของผม”
วินเซนต์ก็ยิ้มออกมาเช่นกัน หลังจากนั้นเขาก็ถามออกมาด้วยท่าทีสบายๆ ว่า “ไข่มุกดำที่มีมูลค่าขนาดนี้ เกรงว่าผลผลิตของตาฮิติก็คงไม่มากไปกว่านี้ ฉิน คุณทำได้อย่างไรกัน? อย่าบอกผมนะว่า ที่ฟาร์มปลาของคุณมีหอยนางรมลอยมากกว่าที่ตาฮิติ”
หอยนางรมลอยทุกตัวไม่ได้ผลิตไข่มุกดำทุกตัว ตามสถิตแล้ว การผลิตไข่มุกดำที่ตาฮิติคือหนึ่งต่อหนึ่งหมื่น นั่นหมายความว่า หอยนางรมลอยหนึ่งตัว จะมีเพียงหนึ่งตัวเท่านั้นที่ผลิตไข่มุกดำ และไข่มุกดำที่ผลิตของมาด้วยวิธีแบบนี้ อาจจะมีรูปร่างผิดปกติ อาจจะมีสีที่สวยงาม ดังนั้นไข่มุกดำที่มีคุณภาพที่ดีนั้นมีน้อยมากในแต่ละปี
นี่คือสาเหตุของราคาที่แตกต่างกันมาก ไข่มุกปลอมมีราคาเพียงไม่กี่ดอลลาร์ ไข่มุกเลี้ยงหนึ่งเม็ดมีมูลค่าสิบถึงร้อยกว่าดอลลาร์ ไข่มุกธรรมชาติมีมูลค่าหลายพันดอลลาร์ และราคาของไข่มุกธรรมชาติระดับพรีเมียมก็จะมีมูลค่าสูงหลายหมื่นไปจนถึงหลายแสนดอลลาร์
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทดสอบทางกายภาพคือการทดสอบกับเครื่องจักร แม้ว่าสายตาและความเชี่ยวชาญของผู้ประเมินจะมีความแม่นยำมาก แต่สิบเท้ายังรู้พลาดนักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดข้อผิดพลาด แน่นอนว่าเครื่องจักรก็ไม่ได้มีความเชื่อถือได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อนำความแม่นยำจากผู้เชี่ยวชาญรวมเข้ากับผลการประเมินของเครื่องจักร ผลลัพธ์สุดท้ายที่ออกมาจะเป็นที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุด
ดังนั้น วินเซนต์จึงได้แนะนำฉินสือโอวให้รู้จักกับระบบเทคโนโลยีในการระบุไข่มุกดำ ซึ่งมีทั้งหมดสี่ประเภท แต่ละประเภทมุ่งเน้นไปที่การหาไข่มุกปลอมที่ถูกสร้างขึ้นในแต่ละวิธี
อันดับแรกคือการทดสอบการเรืองแสงยูวี ใช้สำหรับเทคโนโลยีการเคลือบฟิล์มบนผิวของไข่มุก เป็นการใช้โปรเจ็กเตอร์วิทยุในการยิงรังสีอัลตราไวโอเลตลงไปบนไข่มุก ภายใต้รังสีนั้น ไข่มุกดำจะมีการเรืองแสง และจะเกิดการเปลี่ยนสี โดยจะเปลี่ยนเป็นสีแดงสดไปจนถึงสีแดงกาแฟและอื่นๆ สวยงามมากทีเดียว ไข่มุกที่เคลือบฟิล์มจะมีเมือกอยู่ที่ผิวด้านนอก ทำให้ไม่ตอบสนองต่อการฉายรังสีนี้
ประเภทที่สองคือการตรวจจับภาพถ่ายเอกซเรย์ วินเซนต์บอกว่าเทคนิคนี้ใช้เพื่อตรวจสอบว่าไข่มุกเลี้ยงได้ผ่านการย้อมด้วยเกลือเงินหรือไม่ หลังจากทำการเอกซเรย์ไข่มุกดำแล้ว ฟิล์มที่ฉายรังสีด้วยเครื่องเอกซเรย์จะสามารถแยกแยะไข่มุกที่ถูกย้อมด้วยเกลือเงินได้ ไข่มุกที่ถูกเคลือบมาจะเกิดวงกลมสีขาวระหว่างเม็ดไข่มุกและนิวเคลียส
ประเภทที่สามเรียกว่าการเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนต์ ใช้เครื่องเอกซเรย์เหมือนกัน แต่ไม่ใช่การถ่ายภาพ เปลี่ยนเป็นการถ่ายแสงแทน หินและหยกทั้งหมดสามารถปล่อยรังสีคลื่นเฉพาะออกมาได้ภายใต้การเอกซเรย์ และทำการวัดความยาวของคลื่นโดยการใช้สเปกโตรมิเตอร์ มันสามารถแยกได้ว่านี่คือไข่มุกสีดำบริสุทธิ์หรือว่าเป็นไข่มุกที่ผ่านกระบวนการฉายรังสี
สุดท้ายคือการทดสอบถายภาพอินฟราเรด สำหรับไข่มุกเลี้ยงที่ผ่านกระบวนเทคโนโลยีย้อมสีนิวเคลียส พลังแสงของอินฟราเรดนั้นแข็งแกร่งมาก มันสามารถเจาะทะลุผ่านเข้าไปในนิวเคลียสไข่มุกได้ ถ้าหากว่าเป็นไข่มุกเลี้ยง แบบนั้นพื้นผิวของพวกมันจะไม่สม่ำเสมอ เมื่อแสงอินฟราเรดทะลุผ่านพวกมันไปมุมของไข่มุกก็จะมีการเปลี่ยนแปลง
สิ่งที่ฉินสือโอวกังวลที่สุดก็คือเรื่องนี้ เพราะว่าไข่มุกดำของเขานั้น มีนิวเคลียสแบบอื่นที่เขานำมาทำไข่มุก!
…………………………
Related

ผมนี่แหละเจ้าแห่งฟาร์มปลา

ผมนี่แหละเจ้าแห่งฟาร์มปลา

ชีวิตบัดซบของ ‘ฉินสือโอว’ เริ่มต้นด้วยการถูกใส่ร้ายว่ายักยอกเงินและถูกให้ออกจากบริษัท หนำซ้ำยังต้องชดใช้จนไม่มีแม้แต่เงินจ่ายค่าเช่าห้อง แต่ไม่รู้ว่าโชคดีหรืออะไร เขาพบว่าคุณปู่รองได้ทิ้งพินัยกรรมมูลค่าหลายร้อยล้านไว้ให้ นั่นคือฟาร์มปลาที่แคนาดา แต่ที่นั่นกลับโกโรโกโสทรุดโทรม ปลาสักตัวก็แทบไม่มี นอกจากนั้นยังต้องเสียภาษีการยืนยันพินัยกรรมจำนวนมากอีก จากที่ตอนแรกเขากะจะขายฟาร์มแล้วหอบเงินกลับประเทศจีน กลับต้องฟื้นฟูกิจการฟาร์มปลาเพื่อหาเงินไปจ่ายค่าภาษี ไม่งั้นจะต้องยอมเสียฟาร์มให้ทางการไป ทว่าระหว่างที่สำรวจทะเลสาบในเกาะ เขาถูกปลาทำร้ายจนเลือดที่คางหยดลงไปบนจี้รูปหัวใจสีน้ำเงินที่มีชื่อว่า ‘หัวใจโพไซดอน’ ทำให้ตัวจี้หลอมเข้าไปในตัวเขา จากนั้นมา… จิตสำนึกของเขาก็สามารถสำรวจและควบคุมท้องน้ำรวมถึงทำการเยียวยาและรักษาสิ่งมีชีวิตในทะเลได้ และนี่ คือหนทางกอบกู้ฟาร์มมรดกของเขา!

Recommended Series

Options

not work with dark mode
Reset